SHARE

ประกาศกำหนดการรับนิสิตใหม่
หลักสูตรปริญญาโท-เอก สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ (รอบสอง)
**********
ด้วยหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะเปิดรับสมัครนิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาพุทธบริหารกรศึกษาประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ เริ่มตั้งแต่ วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑ เป็นต้นไป  จึงออกประกาศกำหนดการรับสมัครนิสิตใหม่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๑. ระดับ ปริญญาเอก
๑.๑  จำนวนที่รับสมัคร
        ๑)  แบบ ๑.๑ จำนวน ๑๐ รูป/คน
        ๒)  แบบ ๒.๑ จำนวน ๓๐ รูป/คน
๑.๒  คุณสมบัติของผู้สมัคร
๑)  จบปริญญาโททุกสาขา หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัย รับรอง
๒)  มีเกรดเฉลี่ย ป.โท ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ ยกเว้นมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า ๓ ปี
๓)  ไม่เคยถูกลงโทษให้พ้นสภาพการเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย
๔)  มีผลสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด และ
๕)  คณะกรรมการบริหารหลักสูตร พิจารณาเห็นสมควรให้เข้าศึกษาได้

๑.๓  เอกสารประกอบการสมัคร
๑) ใบสมัครตามแบบของหลักสูตรฯ
๒) ค่าธรรมเนียมการรับสมัคร ๑,๐๐๐ บาท
๓) บัตรประจำตัวผู้สมัครสอบ (บฑ.๑)
๔) รูปถ่าย ๑ นิ้ว จำนวน ๓ รูป (ถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน)
๕) สำเนาปริญญาบัตร และ Transcript ป.ตรี ๑ ชุด
๖) สำเนาปริญญาบัตร และ Transcript ป.โท ๑ ชุด
๗) สำเนาหนังสือสุทธิ /หรือบัตรประชาชน ๑ ฉบับ
๘) หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
๙) สำเนาทะเบียนบ้าน ๑ ชุด
๑๐) หนังสือรับรองคุณสมบัติของผู้สมัคร ๓ ฉบับ
๑๑) หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้าเกรด ป.โท ต่ำกว่า ๓.๕ แต่ไม่น้อยกว่า ๓.๒)
๑๒) ผลสอบภาษาอังกฤษ MCU-GET, TOEFL/IELTS และอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยรับรอง
๑๓) โครงร่างวิทยานิพนธ์ (ตามแบบของหลักสูตร)  ๖ ชุด (หัวข้อและโครงร่างที่คาดว่าจะทำวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต อันประกอบด้วย หัวข้อวิทยานิพนธ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่ต้องระบุอาจารย์ที่ปรึกษา) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา, ปัญหาที่ต้องการทราบ, วัตถุประสงค์การวิจัย, ขอบเขตการวิจัย, นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย, และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ, เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, กรอบแนวคิดการวิจัย, วิธีดำเนินการวิจัย, บรรณานุกรม, และประวัติผู้วิจัย เข้าเล่มให้เรียบร้อยส่งพร้อมใบสมัคร (ดูตัวอย่างการเขียนโครงร่าง ๓ บท ที่  http://www.slideplayer.mcu.ac.th/?p=756)

๒. ระดับ ปริญญาโท

๒.๑  จำนวนที่รับสมัคร     ๖๐  รูป/คน  (เฉพาะแผน ก  แบบ ก ๒)
๒.๒  คุณสมบัติของผู้สมัคร
๑)  จบปริญญาตรี ทุกสาขา มีเกรดไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ หรือมีประสบการณ์ ๒ ปี  หรือ
๒)  จบ ป.ธ. ๙ หรือ บาลีศึกษา ๙
๓)  ไม่เคยถูกลงโทษให้พ้นสภาพการเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย
๔)  มีผลสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด และ
๕)  คณะกรรมการบริหารหลักสูตร พิจารณาเห็นสมควรให้เข้าศึกษาได้

๒.๓  เอกสารประกอบการสมัคร
๑)  ใบสมัครตามแบบของหลักสูตรฯ
๒)  ค่าธรรมเนียมการรับสมัคร  ๑,๐๐๐  บาท
๓)  บัตรประจำตัวผู้สมัครสอบ (บฑ.๑)
๔)  รูปถ่าย ๑ นิ้ว จำนวน ๓ รูป (ถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน)
๕)  สำเนาปริญญาบัตร และ Transcript ป.ตรี  ๑ ชุด
๖)  สำเนาหนังสือสุทธิ /หรือบัตรประชาชน  ๑  ฉบับ
๗)  หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
๘)  สำเนาทะเบียนบ้าน ๑ ชุด
๙)  หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน (กรณีเกรด ป.ตรี ต่ำกว่า ๒.๕)
๑๐)  ผลสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

๓.  กำหนดการรับสมัคร

- จำหน่ายใบสมัครและรับสมัคร        ๑ – ๑๕ มิถุนายน  ๒๕๖๑
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ           ๑๖  มิถุนายน  ๒๕๖๑
- สอบข้อเขียน และสัมภาษณ์           ๑๗  มิถุนายน  ๒๕๖๑
- ประกาศผลการสอบคัดเลือก          ๑๘  มิถุนายน  ๒๕๖๑
- รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตใหม่  ๑๘ – ๒๑ มิถุนายน  ๒๕๖๑
– เปิดเรียน                                ๒๑  มิถุนายน  ๒๕๖๑

๔.  การสอบ / สถานที่สอบ
การสอบมีทั้งข้อเขียนและสัมภาษณ์  เป็นไปตามกำหนดการในข้อ ๓ ณ สำนักงานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา อาคารเรียนรวมโซนซี ชั้น ๕ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  มีขอบข่ายเนื้อหาเตรียมสอบที่แนะนำดังนี้

 ๑) วิชาเฉพาะสาขา (ข้อสอบอัตนัย) เป็นคำถามเกี่ยวกับการศึกษา หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา และการประยุกต์หลักธรรมกับการบริหารและจัดการศึกษา หนังสืออ่านประกอบ เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นโยบายและแผนการศึกษา หลักและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา (ไม่จำกัดผู้แต่ง) ปรัชญาการศึกษา (ไม่จำกัดผู้แต่ง) และพุทธธรรม โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นต้น
 ๒) วิชาภาษาอังกฤษ (ข้อสอบปรนัยและอัตนัย) เป็นคำถามเกี่ยวกับภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ภาษาอังกฤษกับการสื่อสาร วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และบทความทั่วไป หนังสืออ่านประกอบ เช่น หนังสือเตรียมสอบวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อศึกษาต่อปริญญาโท/เอก ทั่วไป หนังสือ What the Buddha Taught เป็นต้น
 ๓) วิชาความรู้ทั่วไป (ข้อสอบปรนัย) เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาการใหม่ๆ กิจการคณะสงฆ์ เป็นต้น หนังสืออ่านประกอบ เช่น หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาการใหม่ๆ  และกิจการคณะสงฆ์ (ไม่จำกัดผู้แต่ง) ธรรมนูญชีวิต โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ข้อมูลพื้นฐานของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (www.mcu.ac.th)

๕.  การสมัคร / สถานที่รับสมัคร
สมัครด้วยตนเอง  ณ สถานที่รับสมัคร ดังนี้
๑)  สำนักงานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา อาคารเรียนรวมโซนซี ชั้น ๕ (ห้องซี ๕๑๐) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ทุกวัน (เว้นวันพระและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
๒)  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อาคารเรียนวัดศรีสุดาราม แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ทุกวัน (เว้นวันพระและวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ติดต่อสอบถาม  โทร. ๐๙๓-๐๓๐-๕๐๓๘, ๐๘๑-๒๙๗-๒๖๑๓  อีเมล์ meda2600@gmail.com ดาวน์โหลดชุดใบสมัครที่  www.edmcu.net,  www.mcu.ac.th

หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
ภาควิชาบริหารการศึกษา  คณะครุศาสตร์

ดาวน์โหลดตัวอย่างโครงวิทยานิพนธ์ 3 บท

(Visited 539 times, 1 visits today)
 

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY